Tuesday, August 26, 2008

transformation


transformation
Originally uploaded by thitipong

Thursday, August 07, 2008

ชบากับดอกบัว


ชบา บัว
Originally uploaded by thitipong

Shambhala chapter1




บทที่ ๑
สร้างสังคมอริยะ
ซัมบาลา ดินแดนเล่าขาน อาณาแห่งสันติสุขเปี่ยมวัฒนธรรม มีผู้ปกครองอันทรงสติปัญญาแลการุณย์ ประชาราษฎร์เปี่ยมด้วยความรอบรู้และเมตตา
ซัมบาลา เมืองอริยามรรคาในอุดมคติ สถาปนาโดยธรรมะจากศากยมุนีพุทธเจ้า สู่ปฐมกษัตริย์ดาวะ สังโป ผู้เลื่อมใส ไม่เพียงแต่ผู้นำเท่านั้น อาณาประชาราษฎร์ล้วนปฏิบัติภาวนา เมืองทั้งเมืองขวักไขว่ด้วยอริยชนผู้ตื่นรู้
ระยะเวลายาวนาน ที่กงล้อธรรมตันตระชั้นสูงถูกหมุน เป็น ”กาลจักรตันตระ” ปรีชาญาณลึกซึ้งของชนชาวธิเบต สืบเนื่องจนปัจจับัน
ชาวธิเบตบ้างว่าซัมบาลาคือดินแดนลี้ลับที่แฝงเร้นอยู่ในหุบเขาแถบเทือกเขาหิมาลัย บ้างว่าทั้งราชอาณาจักรได้เข้าถึงภาวะตรัสรู้ดับสลายไปจุติยังมิติอื่น โดยมีกษัตริย์ริกเดนผู้ยิ่งใหญ่ เฝ้าดูมวลมนุษย์ชาติเพื่อรอเวลาลงมาช่วยผู้คนจากหายนะ นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่ามีแต่อีกหลายคนกล่าวว่าเป็นเรื่องเล่าขานตำนานเพ้อฝัน อย่างไรก็ตาม เราอาจมองเห็นเค้ารอยของความปรารถนาอันงดงามและสูงส่งแห่งสังคมอริยะ คุรุธิเบตมีประเพณีซึ่งถือว่า”ซัมบาลา” ไม่ใช่ดินแดนที่ดำรงอยู่ภายนอกหากแต่สถิตย์อยู่ภายใน เป็นรากฐานแห่งการหยั่งรู้และเข้าใจของมวลมนุษย์ทุกผู้ จึงไม่ใช่สิ่งสำคัญว่าซัมบาลาจะเป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงนิทานคำสอน หากแต่ควรมองให้เห็นถึงคุณค่าอันลึกซึ้งและดำเนินตามอุดมคิแห่งอริยะที่แสดงนัยอยู่
“คำสอนซัมบาล” หรือเรียกอีกอย่างว่า ” ญาณทัศนะซัมบาลา ” คือ อาณาจักรอุดมคติที่ปราศจากลัทธิ นิกายตามแนวทางศาสนาใดชัดเจน ดำรงตนอิสระแต่ยืนอยู่บนหลักคิดและวัฒนธรรมอันนุ่มนวลแบบพุทธ มุ่งสู่การขัดเกลามนุษย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แท้ ผ่านความเรียบง่ายไร้ลัทธิเพื่อสามารถนำมาปฏิบัติและแบ่งปันกับผู้อื่นท่ามกลางความหนักหน่วงของสังคมปัจจุบัน
ปรีชาญาณเหล่านี้ไม่ได้สืบทอดมาจากที่ใด ทว่าคือวัฒนธรรมนักรบเก่าแก่ที่สืบทอดในมาในทุกวัฒนธรรมที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ อาทิ ในชาวอเมริกันอินเดียน ซามูไร กษัตริย์อาเธอร์ ฯลฯ ความเป็นนักรบสากลที่ไม่ใช่ความก้าวร้าว แต่คือความหมายของนักรบในภาษาธิเบต นั่นคือ “ผู้กล้า” กล้าในทุกๆสิ่ง หรืออาจกล่าวว่าไม่กลัวในสิ่งใดๆแม้กระทั่งตัวเอง!
”ญาณทัสนะซัมบาลา คือ สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว
เมื่อเราเริ่มกลัวตัวเองและภัยคุกคามของโลกปัจจุบัน
เมื่อนั้นเราก็กลับเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ เราปรารถนาจะสร้างรังเล็กๆของตนขึ้น
สร้างเปลือกขึ้นห่อหุ้มตัวเอง เพื่อว่าเราจะได้อยู่เพียงลำพัง อย่างปลอกภัยในนั้น”
ถ้าเรากลัวแล้วใครจะกล้า โลกต้องการความช่วยเหลือและบอบช้ำเต็มที ภารกิจของสังคมคือหน้าที่ของทุกคนแต่ในขณะเดียวกันต้องไม่ทอดทิ้งภารกิจ ความรับผิดชอบของตัวเอง ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน เริ่มที่การค้นพบควมจริงแท้ในตัวเรา แล้วพินิจว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราสามารถมอบให้โลก เพื่อยกระดับชีวิตของตนและคนรอบข้างได้บ้าง
การค้นพบความดีงามคือการเปิดใจตระหนักรู้ถึงประสบกรณ์ที่ปรากฏอย่างจริงจังจริงใจ ตรงไปตรงมา แม้สิ่งที่แสนสามัญ เช่น แสงอาทิตย์ยามเช้าที่ทำให้เรากระปรี้กระเปร่า สีสันสดใจที่ทำให้ใจเราแช่มชื่นเบิกบาน สิ่งเหล่านี้เข้มข้นชัดเจนละเอียดอ่อนและล้นเหลือ หน้าที่ของเราคือหยิบฉวยชั่วขณะเวลาเหล่านั้น ด้วยว่ามันได้แสดงออกถึงรากฐานแห่งอหิงสาและความสดใหม่ในชีวิต รากฐานแห่งความดีงามที่อยู่ในตัวเรา
“เราสามารถเยียวยาตนเองจากควมรู้สึกกดดันต่างๆถ้าเราตระหนักว่าโลกของเรานี้ดีงาม”
ญาณทัสนะซัมบาลามุ่งผสานกับศักยภาพของปัญญา และความสง่างามในตัวเราเพื่อปลุกเราให้ตื่นขึ้นและรับรู้ ความจริงที่เที่ยงตรงและดีงามที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
สิ่งสำคัญคือการค้นพบความสมดุลของการสัมผัสความดีงมเหล่านั้น การสัมผัสอย่างแผ่วเบา หรือเรียกอีกอย่างว่าการมีอารมณ์ขัน(ไม่ใช่ความหมายที่เข้าใจกัน)ที่ไม่ผิดพลาดไปด้วยอำนาจแห่งความอยากเสพสิ่งที่ดีงามหรืออยากจะเข้าถึงความดีงาม ความจริงคือการน้อมตัวตนลงมาเพื่อสัมผัสรู้สิ่งสามัญที่สุดในชีวิต เพื่อเชื่อมโยงเราไว้กับเหตุการณ์ต่าง เช่น ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องซักผ้า การกิน การหวีผมหรือการแต่งตัว สิ่งเหลานี้เมื่อเราเฝ้าดู เราจะพบอารมณ์ขัน ศักดิ์ศรีและความจริง เป็นชีวิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
“ญาณทัสนะซัมบาลานั้น คือความพยายามที่จะกระตุ้นคุณให้ประจักษ์ว่าคุณมีชีวตอยู่อย่างไร มีความสัมพันธ์กับชีวิตสามัญอย่างไร”
เรามิใช่ทาสของชีวิต เราเป็นอิสระ มีร่างกายและจิตใจ อิสระเพื่อสอดรับกับความจริงอันสง่างามรอบข้าง อย่างมีอารมณ์ขัน รับรู้ถึงพลังอันยิ่งใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในจักรวาล ในธรรมชาติ ป่าเขา หิมะ หรือแม้กระทั่งโคลนตม
เมื่อเราสัมผัสได้ถึงความดีงามแห่งสรรพสิ่ง เราจะสัมผัสถึงปัญญาและความสามารถในตัวของเรา เราพบว่าโลกไม่ใช่ศัตรูของเรา การดำเนินชีวิตไปตามคลองธรรม ทำให้เราไม่ต้องหลอกผู้อื่นและตัวเอง เราอาจมองเห็นว่าชีวิตนี้แสนสั้นโดยไม่รู้สึกผิดหรือไร้ค่า เราแบ่งปันความดีงามร่วมกับผู้อื่น ตรงไปตรงมาและเปิดเผยยิ่ง เป็นอยู่อย่างเบาสบายแต่มั่นคง
“แก่นแท้ของความเป็นนักรบหรือแก่นแท้ของความกล้าหาญของมนุษย์นั้น
ย่อมไม่ยอมสยบต่อสิ่งใดทั้งสิ้น เราไม่มีวันพูดว่าเรากำลังจะแตกกระจายเป็นเสี่ยงๆ
เราไม่อาจพูดได้ว่าคนอื่นจะต้องเป็นเช่นนั้นและโลกด้วยเช่นกัน
ชั่วชีวิตของเราอาจมีปัญหาอันหนักหน่วงมากมายในโลก
แต่ขอให้เรามั่นใจว่า ชั่วชีวิตนี้จะไม่มีความหายนะใดๆอุบัติขึ้น
เราอาจป้องกันได้ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา อย่างน้อยที่สุดเราอาจช่วยโลกให้รอดจากหายนะ
ญาณทัสนะซัมบาลามีอยู่เพื่อสิ่งนี้ เป็นอุดมคติเก่าแก่ที่มีมานานนับศตวรรษ
นั่นคือการรับใช้โลกนี้ เราอาจช่วยให้มันรอดแต่การช่วยให้รอดก็ยังไม่เพียงพอ
เรายังต้องกระทำการเพื่อสร้างสังคมมนุษย์ที่เป็นอริยะขึ้นมาด้วย”
หนังสือนี้กล่าวถึงรากฐานแห่งสังคมอริยะและหนทางนำไปสู่ ในวิถีนักรบของซัมบาลา ไม่มุ่งเน้นการขบคิดปัญหาทางทฤษฎีหรือการคาดเดาต่างๆ แต่มีเนื้อหาที่เกื้อกูลให้เกิดการค้นพบความหมายและบรรลุถึงความเป็นอริยของตนและสังคมด้วยผู้อ่านเอง
”ถ้าเราปรารถนาจะช่วยโลกให้รอด เราจะต้องก้าวเดินไปด้วยตัวเอง”

Monday, August 04, 2008

on the door


on the door
Originally uploaded by thitipong
Let's left the doors of the heart wide open.

swan


swan
Originally uploaded by thitipong

ถาม ตอบ ศิลปธรรม




คำถามที่ดี
เมื่อวานนี้เอง ฉันได้มีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนที่แสนดีคนหนึ่ง เราต่างไม่ได้แลกเปลี่ยนกันมาเป็นระยะเวลานาน ฉันรู้สึกดีใจตามปกติ ที่คนเราจะอบอุ่นเสมอเมื่อได้รับรู้ว่าเรามีเพื่อนอยู่ตรงนั้นและเราได้ใช้เวลาสั้นๆร่วมกัน แม้จะผ่านทางโทรศัพท์มือถือก็ตาม
เพื่อนฉันเป็นนักดนตรีแล้วกำลังมีคำถามคาใจว่า
“เขานั้นกำลังทำอะไรอยู่”
“สิ่งที่เขาทำนั้นเป็นสิ่งที่ดีหรือ เป็นสิ่งที่ทำให้คนมากมายลุ่มหลงมัวเมา”
“คนเขานิ่งอยู่ดีๆไปทำให้ใจเขาสั่น”
.....
คิดถึงบ้าน
ฉันมีความยินดียิ่งที่ได้ฟังคำถามที่เกี่ยวข้องกับการใช้ชีวิต คำถามเกี่ยวกับจิตใจ เพราะนั่นแสดงว่าผู้ที่มีคำถามย่อมได้ใช้เวลาครุ่นคิดเกี่ยวความสงสัยต่างๆในชีวิต เขาอาจได้อ่านหนังสือ สนทนาในหัวข้อนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ฉันเองก็เป็นเช่นกัน ฉันยินดีมิใช่ว่าฉันสามารถตอบคำถามและแสดงตัวว่าฉันตอบได้ ฉันรู้มากกว่าเธอ เปล่าเลย ฉันก็สงสัยเหมือนกันเราต่างก็มีความสงสัยเหล่านี้อยู่ในหัวใจทุกคน เพียงแต่ว่าแรงขับภายใน มันได้ถึงจุดที่ต้องการคำตอบนั้นแล้วหรือยัง เราต่างพลัดพรากจากบ้านและต้องการความอบอุ่น บ้านเกิดคือจิตใจ จิตใจเดิมแท้นั้นบริสุทธิ์ผุดผ่อง เมื่อเราเติบโตในหนทางที่ถูกต้องเราย่อมต้องการจิตใจดั้งเดิม บ้านดั่งเดิม เตียงนอน ผ้าห่ม หรือข้าวไข่เจียวจากคุณแม่
นานหลายปีมาแล้วที่สังคมของเราได้พรากเราจากบ้านของเรา เรามักเที่ยวเตร็ดเตร่ออกไปตามที่ต่างๆ ตลอดเวลา เราทำงานห้าวันถึงเจ็ดวัน ช่วงเวลาว่างเราจะฟังเพลง อ่านหนังสือ ดูหนัง คุยกับเพื่อน แท้จริงเราไม่ได้พักผ่อนเลย จิตใจไม่ได้หยุดนิ่ง แม้นั่งนิ่งๆได้เราก็จะลอยออกไปกับเรื่องที่แล้วมาหรือเรื่องข้างหน้าที่จะเป็นไป เราแทบไม่ได้มีชีวิต
ปัจเจกนิยมได้เข้ามาแล้วและเริ่มออกอาการแกว่งแล้ว การแสวงหาความเป็นส่วนตัว ความเป็นตัวของตัวเอง การแสดงออกถึงอะไรบางอย่าง ตัวตน ความฝัน ความทะเยอทะยาน ที่ไร้ขอบเขต การขาดการเชื่อมโยงระหว่างชุมชนและสังคมที่ขาดวิ่น เดิมทีเราพรากจากบ้านด้วยความคิดถึง แต่มันเป็นเรื่องเลวร้ายทีเดียวถ้าเราจะไม่มีแม้ความคิดถึง เยื่อใยในบ้านเดิมของเรา เราอาจจะเห็นตัวอย่างง่ายๆ จากวิวัฒนาการของเพลงไทย ความหมายมันได้เปลี่ยนไปตามเวลา จากความชื่นชมในค้างคาวกินกล้วย ธรรมชาตินานา สู่ความเหงาโดดเดี่ยวอ้างว้าง ฉันยังจำได้ถึงเพลงของพี่เบิร์ดธงชัยสมัยก่อน ที่แตกต่างจากตอนนี้เหลือเกิน เราใช้ชีวิตปลีกออกไปจากสังคมทุกที ชุมชนเริ่มสลายไปทีละน้อยๆ เราแทบไม่จำเป็นที่จะต้องมีเพื่อนบ้านหรืออย่างน้อยถ้าไม่มีซะเลยจะดีกว่า
มีหลายคนที่ไม่ชอบสังคม ไม่ชอบชีวิตแบบนี้ แล้วปิดประตูต้านไปอีกด้านหนึ่ง ทัศนะคติที่ไม่ดีต่างๆพลั่งพรูออกมาจากความหม่นหมองในจิตใจ ความคิดเหล่านี้เป็นอคติที่ว่าถ้าไม่ใช่เพื่อนกันก็ต้องเป็นศัตรูกันอย่างใดอย่างนั้น เขาอาจละทิ้งทุกสิ่งแล้วเข้าป่าแสวงหาตัวตน ก่นด่าสังคมและคนที่หลงไหลในวัตถุ แต่นั่นเองถ้าไม่อยู่บนฐานความเข้าใจที่ถูกต้อง ถ้าเขาไม่ได้อยู่ในเส้นทางที่จะกลับสู่บ้านของเขา เขาก็เพียงแต่เร่ร่อนไปอีกที่หนึ่งเท่านั้น เขาจะสถิตอยู่ในที่ๆชอบใจ และเป็นตัวของเขา โอบอุ้มพพลังของตัวไว้แล้วสร้างกรอบป้องกันตนจากคนเห็นต่าง แล้วจะต่างอะไรกับปัจจเจกนิยม นี่เป็นปัจเจกนิยมที่ต่างความคิดเท่านั้นเอง
หนทางที่แท้ฉันเข้าใจว่าเราไม่จำเป็นต้องกระวีกระวาดกระตือรือล้นมากจนเกินไป เมื่อเราเกิดความสงสัยเหล่านั้น เพียงเราให้เวลากับการมีชีวิต ให้โอกาสตัวเองได้มีชีวิตอย่างแท้จริง เรามีสติ มองให้เห็นจิตใจของเรา เราจะค่อยๆเข้าใจและเรียนรู้
มองเรา
เธอคือนักดนตรีและฉันก็ชอบดนตรี ดนตรีช่วยให้เกิดความสุข กล่อมจิตใจ บางครั้งการฟังเพลงก็สามารถทำให้เราคิดอะไรดีๆออก ทำให้เราลืมเรื่องที่ทุกข์ มีความสุข อาจใช้ดนตรีเป็นเพื่อน เป็นกำลังใจ บางคนใช้ดนตรีทำสมาธิ ดนตรีมีข้อดีอยู่มาก แต่ดนตรีที่ดีต้องอยู่บนพื้นฐานของความดีงาม ความรักเมตตา ความจริงใจและสันติ ที่ออกจากผู้ประพันธ์ เพื่อยกระดับจิตใจของผู้ฟัง ฉุดดึงเขาขึ้นมาเมื่อเขาล้ม และทำให้เขายืนหยัดได้มั่นคงเมื่อเขาเป็นปกติ ทำให้ผู้ฟังมีความสุขที่ปราณีตยิ่งๆขึ้นไปดนตรีอย่างนี้ถึงจะสมแก่การเรียกได้ว่าศิลปะ และกล่าวนามผู้ขับลำนำนั้นว่า ศิลปิน
ศิลปะคือชีวิต ศิลปะคือธรรม
ศิลปินคือผู้ที่มีความสามารถที่จะเข้าใจ มีความสามารถที่จะเข้าถึงอารมร์ต่างๆ แล้วแสดงออกมาด้วยวิธีการ เทคนิกวิธีต่างๆ ตามแต่ความถนัดและสนใจ ผู้ที่จะทำงานศิลปะจึงต้องมีความจริงใจอย่างที่สุด เพราะผลงานเหล่านั้นกลั่นออกมาจากจิตใจ งานศิลปะก็คือตัวศิลปินเองทั้งหมด ควมลึกล้ำของงานก็คือความลึกล้ำของผู้สร้างสรรค์ ถ้าโกหกตัวเองเสียแล้ว งานชิ้นนั้นย่อมไร้ค่า ไร้ความหมาย ตื้นเขิน ความเป็นตัวของตัวเองทีถูกถ่ายทอดคือภาพฉายชีวิตและความนึกคิดของศิลปินและสังคมในช่วงเวลาหนึ่งๆ หากเราได้ยกเอาสิ่งต่างๆที่หมักหมมอยู่ในความคิด หรือที่ติดอยู่ตามร่างกายของเราออก เราก็จะเข้าถึงความจริงของตัวเรามากขึ้น เราไม่พึ่งพาสิ่งอื่นในการที่จะรู้จักตัวเอง เราคงไม่ต้องโทรศัพท์หาตัวเอง หรือถามหมอดูว่าเราเป็นใคร ตัวอย่างศิลปะที่เกิดจากกรค้นพบตัวเองอย่างจริงใจ ที่เห็นได้ชัดคือศิลปะเซน
เพราะแท้จริงการปฏิบัติธรรมต้องมีศิลปะ ต้องมีความกล้าหาญที่จะเอาชนะความกลัวในทุกสิ่ง แม้กระทั่งกลัวตัวเอง ต้องใช้ความจริงใจอย่างยิ่งยวดที่จะเข้าใจความเป็นจริงที่ปรากฏ เข้าถึงตัวตน เพราะบางครั้งความจริงไม่เป็นไปดั่งหวัง หรือแม้เป็นดั่งหวังตั้งใจก็ไม่ดำรงอยู่นาน ซ้ำเรามักจะต้องการให้มันคงนิรันดร แต่เราทำได้แค่เพียงยอมรับและเบิกบานด้วยความเข้าใจอันถ่องแท้หาใช่การโกหกหรือบ่ายเบี่ยงไม่ เมื่อเรายินดีที่จะพบตัวตน เราก็อยู่ในวิถีละตัวตนแล้วนั่นเอง
เมื่อเรากลับถึงบ้านแล้ว ไม่มีความคิดถึง ห่วงกังวลอีก
ศิลปะและการเยียวยา
ดังนั้นจะไม่เป็นการดีหรือที่เราจะสามารถใช้ศิลปะเหล่านั้นในการนำพาเราไปสู่บ้านของเรา ซึ่งแท้จริงก็อยู่ในจิตในใจของเราเอง เราสามารถพัฒนางานศิลปะไปพร้อมๆกับการเข้าใจความจริงด้วยความจริงใจ ทุกครั้งที่เราทำสิ่งที่เรารักหรือชอบ เพราะเราพอใจที่จะทำหรือเห็นประโยชน์คือผลที่ดีอันจะตามมาเราย่อมมีความมุ่งมั่นตั้งใจ มีสมาธิ เรากำลังภาวนาโดยไม่รู้ตัว บางครั้งเราแนบแน่นอยู่กับงานนั้นได้เป็นชั่วโมงๆ โดยไม่ต้องกินข้าว ไม่มีความเหน็ดเหนื่อย เราอาจจะนั่งใต้ต้นไม้แล้วปล่อยใจให้ความเข้าใจกลายเป็นโน๊ตดนตรี เพื่อถ่ายทอดจากดนตรีสู่ผู้ฟัง หวังให้เขาเหล่านั้นมีความสุข

สะพานเชื่อมใจ
เราคงจะเคยเห็น หรือประสบมาแล้วว่าที่ใดมีศิลปะ ดนตรี กวี คำกลอน ที่เหล่านั้นมักเป็นที่สนใจของผู้คน มีพลังบางอย่างที่เป็นสื่อกลางให้สารที่สื่ออกจากศิลปินเข้าถึงผู้รับได้อย่างดีและมีมนต์ขลัง สะกดจิตใจให้คล้อยตามได้ดียิ่ง ดังนั้นศิลปะที่ไม่ดีย่อมอันตรายต่อผู้ที่เสพสิ่งเหล่านั้นเขาสู่ธารใจ โดยไม่รู้ว่านั้นคือยาพิษอันเลิศรส ลูกอมที่ทำให้ฟันผุ แต่เมื่อใดที่จิตใจงาม จิตใจสูง ความหวังดี เมตตา การให้ อิสรภาพและปรีชาญาณต่างๆได้หยั่งรากในศิลปิน และออกดอกผลเป็นงานศิลปะแล้ว ผลไม้นั้นย่อมควรแก่การรับประทานเพื่อเป็นกำลังจิตกำลังใจที่จะร่วมสู้ชีวิตกันต่อไป ดับความหิวกระหาย ผ่อนคลายความทุกข์ เกิดความปลอดโปร่ง การตระหนักรู้ เป็นพื้นฐานให้จิตใจงาม จิตใจสูง ความหวังดี เมตตา การให้ อิสรภาพและปรีชาญาณ ได้เติบโตในใจผู้รับสารนั้นอีกทอดหนึ่ง
ศิลปินคือผู้ปลดปล่อย
ศิลปินคือผู้ที่จะเลือกทางเดินของเอง เขาเองก็เปรียบเหมือนผู้ถือกุญแจ ซึ่งมีอยู่หลายดอก ขึ้นอยู่กับเขาเองว่าจะเป็นผู้ไขกุญแจแห่งการปลดปล่อย ปลิดโซ่ตรวนแห่งจิตใจผู้คน ไปสู่ความสุข ความเบิกบานชุ่มชื่นใจ ความสุขุม สงบ สันติภาพ สังคมอุดมคติอันงดงาม ความจริงความถูกต้อง สัจจะหรือแม้กระทั่งความว่าง หรือเลือกที่จะไขปิดด้วยกุญแจแห่งความโศก ความแค่นแข็ง กระด้าง ลุ่มหลง ความโลภ กามราคะ ความหลงผิด
และเมื่อเขาเลือกที่จะไขด้วยกุญแจใด เขาย่อมเป็นกุญแจนั้น
การค้นพบที่แท้ในจิตใจผ่านงานศิลปะมีให้เห็นมากมาย ยกตัวอย่างที่เห็นทั่วไป เช่น นักดนตรีชื่อดังมากมาย เริ่มต้นชีวิตศิลปินด้วยความเร้าร้อน เพลงที่หยาบกระด้าง รุนแรง ความรักที่เจือด้วยราคะและความฝันกล้า แต่เมื่อถึงช่วงหนึ่งศิลปินคนเดิมกลับทำงานที่แสดงถึงความอ่อนโยน สุขุม ชีวิตที่แท้ สัจจะ ความรักความเมตตากัน และสันติภาพ ดั่งเด็กน้อยที่เติบโตขึ้นตามเวลา ในขณะเดียวกันผู้ฟังและผู้เสพงานต่างก็โตขึ้นไปด้วย
เราลองจินตนาการภาพคุณลุงชรา กำลังนั่งดูหลานแท้ๆเพลิดเพลินกับของเล่นชิ้นโปรด อาจจะเป็นรถคันเล็กๆ หนังยางหรือกระทั่งก้อนดิน เขาเองเคยเป็นเด็ก เขาเองก็ไม่ต่างจากหลานตัวน้อย เขาเข้าใจถึงความรู้สึกสนุกสนานเหล่านั้น เขาเคยร้องไห้เพราะหวงแหนก้อนดินนั้น แต่บัดนี้เขาได้แต่นั่งมองดูด้วยใจสงบ ไม่แล้วเขาไม่ลงไปเล่นดินนั้นอีกแล้ว เขาผ่านมาแล้ว เขารู้แล้วว่ามันเป็นอย่างไร จะเป็นอย่างไร แล้วอะไรที่ดีกว่า”
เมื่อชีวิตได้เข้าใจและตระหนักรู้ สิ่งที่กระทำหรือกรรมย่อมเปลี่ยนแปลงไป คำถามในชีวิตจะถูกไขออกที่ละน้อยๆ ช้าเร็วย่อมแตกต่างแต่ทุกคนย่อมมีจุดหมายปลายทางเดียวกัน คืออิสระภาพที่จะปลดปล่อยเราจากความทุกข์ ความสงสัยที่นอนเนื่อง ตราบที่เรายังคงต้องแสวงหา เพื่อพบตัวตนและลาจากตัวตน
กลับบ้าน
บนถนนสู่บ้านเดิมนั้นมีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ หลากอาชีพ เป็นสิ่งที่งดงามเมื่อมีศิลปินร่วมทางเพราะเขาทำให้การเดินทางนั้นมีคุณค่ามากยิ่ง เราอาจจะนั่งพักฟังเธอบรรเลงขลุ่ย ฉันขับกลอนสั้นๆ เราจะร้องเพลงร่วมกันในค่ำคืนแห่งนวลจันทร์ เธออาจสอนฉันเล่นด้วยก็ได้ ส่วนฉันก็อาจมีสิ่งดีๆแลกเปลี่ยนกัน
เพราะเราทุกคนต่างมีวิญญาณแห่งศิลปินด้วยกัน เราเยียวยากันและกันตลอดทาง เราต่างคนต่างถิ่น ทุกๆอาชีพ ทุกๆชีวิตต่างทำสิ่งที่ดีๆได้ ขึ้นอยู่กับว่าเราไม่กลัวที่จะทำ และเราจะทำไหม...เท่านั้น เส้นทางสู่บ้าน อันยาวไกล ระหว่างทางนี้ไม่ง่ายนัก เราควรเตรียมตัวให้พร้อมเข้าไว้ สำหรับการเดินทาง

“ระหว่างทาง”
“ใช่แล้ว เรากำลังอยู่ระหว่างทาง”
คำตอบที่ดี ก็ทำให้เราสบายใจ




ถามให้น้อย ถึงสิ่งที่ ฉันจะได้
แต่เรื่องให้ คนอื่น เคยถามไหม
ถามไปเถิด ให้ฝังไว้ ในจิตใจ
ทุกคนมี ดีจะให้ อยู่ในตัว
ตอบให้มาก ถึงสิ่งที่ เป็นประโยชน์
สิ่งที่โลก ได้มอบไว้ ให้แก่ฉัน
ตอบให้เห็น แทนที่จะ เรียกร้องกัน
ว่าตัวฉัน คนนี้ ได้อะไร

ฐิติพงษ์ เหลืองอรุณเลิศ
บทกลอนดัดแปลงจากคำปราศรัยของพระพรหมคุณาภรณ์(ป.อ.ปยุตฺโต)
ในพิธีรับรางวัลการศึกษาเพื่อสันติภาพประจำปี ๒๕๓๗ ของยูเนสโก กรุงปารีส