บทที่ ๑
สร้างสังคมอริยะ
ซัมบาลา ดินแดนเล่าขาน อาณาแห่งสันติสุขเปี่ยมวัฒนธรรม มีผู้ปกครองอันทรงสติปัญญาแลการุณย์ ประชาราษฎร์เปี่ยมด้วยความรอบรู้และเมตตา
ซัมบาลา เมืองอริยามรรคาในอุดมคติ สถาปนาโดยธรรมะจากศากยมุนีพุทธเจ้า สู่ปฐมกษัตริย์ดาวะ สังโป ผู้เลื่อมใส ไม่เพียงแต่ผู้นำเท่านั้น อาณาประชาราษฎร์ล้วนปฏิบัติภาวนา เมืองทั้งเมืองขวักไขว่ด้วยอริยชนผู้ตื่นรู้
ระยะเวลายาวนาน ที่กงล้อธรรมตันตระชั้นสูงถูกหมุน เป็น ”กาลจักรตันตระ” ปรีชาญาณลึกซึ้งของชนชาวธิเบต สืบเนื่องจนปัจจับัน
ชาวธิเบตบ้างว่าซัมบาลาคือดินแดนลี้ลับที่แฝงเร้นอยู่ในหุบเขาแถบเทือกเขาหิมาลัย บ้างว่าทั้งราชอาณาจักรได้เข้าถึงภาวะตรัสรู้ดับสลายไปจุติยังมิติอื่น โดยมีกษัตริย์ริกเดนผู้ยิ่งใหญ่ เฝ้าดูมวลมนุษย์ชาติเพื่อรอเวลาลงมาช่วยผู้คนจากหายนะ นักวิทยาศาสตร์หลายคนเชื่อว่ามีแต่อีกหลายคนกล่าวว่าเป็นเรื่องเล่าขานตำนานเพ้อฝัน อย่างไรก็ตาม เราอาจมองเห็นเค้ารอยของความปรารถนาอันงดงามและสูงส่งแห่งสังคมอริยะ คุรุธิเบตมีประเพณีซึ่งถือว่า”ซัมบาลา” ไม่ใช่ดินแดนที่ดำรงอยู่ภายนอกหากแต่สถิตย์อยู่ภายใน เป็นรากฐานแห่งการหยั่งรู้และเข้าใจของมวลมนุษย์ทุกผู้ จึงไม่ใช่สิ่งสำคัญว่าซัมบาลาจะเป็นเรื่องจริงหรือเป็นเพียงนิทานคำสอน หากแต่ควรมองให้เห็นถึงคุณค่าอันลึกซึ้งและดำเนินตามอุดมคิแห่งอริยะที่แสดงนัยอยู่
“คำสอนซัมบาล” หรือเรียกอีกอย่างว่า ” ญาณทัศนะซัมบาลา ” คือ อาณาจักรอุดมคติที่ปราศจากลัทธิ นิกายตามแนวทางศาสนาใดชัดเจน ดำรงตนอิสระแต่ยืนอยู่บนหลักคิดและวัฒนธรรมอันนุ่มนวลแบบพุทธ มุ่งสู่การขัดเกลามนุษย์สู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แท้ ผ่านความเรียบง่ายไร้ลัทธิเพื่อสามารถนำมาปฏิบัติและแบ่งปันกับผู้อื่นท่ามกลางความหนักหน่วงของสังคมปัจจุบัน
ปรีชาญาณเหล่านี้ไม่ได้สืบทอดมาจากที่ใด ทว่าคือวัฒนธรรมนักรบเก่าแก่ที่สืบทอดในมาในทุกวัฒนธรรมที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์ อาทิ ในชาวอเมริกันอินเดียน ซามูไร กษัตริย์อาเธอร์ ฯลฯ ความเป็นนักรบสากลที่ไม่ใช่ความก้าวร้าว แต่คือความหมายของนักรบในภาษาธิเบต นั่นคือ “ผู้กล้า” กล้าในทุกๆสิ่ง หรืออาจกล่าวว่าไม่กลัวในสิ่งใดๆแม้กระทั่งตัวเอง!
”ญาณทัสนะซัมบาลา คือ สิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับความเห็นแก่ตัว
เมื่อเราเริ่มกลัวตัวเองและภัยคุกคามของโลกปัจจุบัน
เมื่อนั้นเราก็กลับเห็นแก่ตัวอย่างร้ายกาจ เราปรารถนาจะสร้างรังเล็กๆของตนขึ้น
สร้างเปลือกขึ้นห่อหุ้มตัวเอง เพื่อว่าเราจะได้อยู่เพียงลำพัง อย่างปลอกภัยในนั้น”
ถ้าเรากลัวแล้วใครจะกล้า โลกต้องการความช่วยเหลือและบอบช้ำเต็มที ภารกิจของสังคมคือหน้าที่ของทุกคนแต่ในขณะเดียวกันต้องไม่ทอดทิ้งภารกิจ ความรับผิดชอบของตัวเอง ต้องเริ่มที่ตัวเองก่อน เริ่มที่การค้นพบควมจริงแท้ในตัวเรา แล้วพินิจว่ามีสิ่งใดบ้างที่เราสามารถมอบให้โลก เพื่อยกระดับชีวิตของตนและคนรอบข้างได้บ้าง
การค้นพบความดีงามคือการเปิดใจตระหนักรู้ถึงประสบกรณ์ที่ปรากฏอย่างจริงจังจริงใจ ตรงไปตรงมา แม้สิ่งที่แสนสามัญ เช่น แสงอาทิตย์ยามเช้าที่ทำให้เรากระปรี้กระเปร่า สีสันสดใจที่ทำให้ใจเราแช่มชื่นเบิกบาน สิ่งเหล่านี้เข้มข้นชัดเจนละเอียดอ่อนและล้นเหลือ หน้าที่ของเราคือหยิบฉวยชั่วขณะเวลาเหล่านั้น ด้วยว่ามันได้แสดงออกถึงรากฐานแห่งอหิงสาและความสดใหม่ในชีวิต รากฐานแห่งความดีงามที่อยู่ในตัวเรา
“เราสามารถเยียวยาตนเองจากควมรู้สึกกดดันต่างๆถ้าเราตระหนักว่าโลกของเรานี้ดีงาม”
ญาณทัสนะซัมบาลามุ่งผสานกับศักยภาพของปัญญา และความสง่างามในตัวเราเพื่อปลุกเราให้ตื่นขึ้นและรับรู้ ความจริงที่เที่ยงตรงและดีงามที่เกิดขึ้น เกิดขึ้นซ้ำแล้วซ้ำเล่า
สิ่งสำคัญคือการค้นพบความสมดุลของการสัมผัสความดีงมเหล่านั้น การสัมผัสอย่างแผ่วเบา หรือเรียกอีกอย่างว่าการมีอารมณ์ขัน(ไม่ใช่ความหมายที่เข้าใจกัน)ที่ไม่ผิดพลาดไปด้วยอำนาจแห่งความอยากเสพสิ่งที่ดีงามหรืออยากจะเข้าถึงความดีงาม ความจริงคือการน้อมตัวตนลงมาเพื่อสัมผัสรู้สิ่งสามัญที่สุดในชีวิต เพื่อเชื่อมโยงเราไว้กับเหตุการณ์ต่าง เช่น ช้อนส้อม ผ้าเช็ดตัว หรือเครื่องซักผ้า การกิน การหวีผมหรือการแต่งตัว สิ่งเหลานี้เมื่อเราเฝ้าดู เราจะพบอารมณ์ขัน ศักดิ์ศรีและความจริง เป็นชีวิตที่ประกอบด้วยสติสัมปชัญญะ
“ญาณทัสนะซัมบาลานั้น คือความพยายามที่จะกระตุ้นคุณให้ประจักษ์ว่าคุณมีชีวตอยู่อย่างไร มีความสัมพันธ์กับชีวิตสามัญอย่างไร”
เรามิใช่ทาสของชีวิต เราเป็นอิสระ มีร่างกายและจิตใจ อิสระเพื่อสอดรับกับความจริงอันสง่างามรอบข้าง อย่างมีอารมณ์ขัน รับรู้ถึงพลังอันยิ่งใหญ่ที่ปรากฏอยู่ในจักรวาล ในธรรมชาติ ป่าเขา หิมะ หรือแม้กระทั่งโคลนตม
เมื่อเราสัมผัสได้ถึงความดีงามแห่งสรรพสิ่ง เราจะสัมผัสถึงปัญญาและความสามารถในตัวของเรา เราพบว่าโลกไม่ใช่ศัตรูของเรา การดำเนินชีวิตไปตามคลองธรรม ทำให้เราไม่ต้องหลอกผู้อื่นและตัวเอง เราอาจมองเห็นว่าชีวิตนี้แสนสั้นโดยไม่รู้สึกผิดหรือไร้ค่า เราแบ่งปันความดีงามร่วมกับผู้อื่น ตรงไปตรงมาและเปิดเผยยิ่ง เป็นอยู่อย่างเบาสบายแต่มั่นคง
“แก่นแท้ของความเป็นนักรบหรือแก่นแท้ของความกล้าหาญของมนุษย์นั้น
ย่อมไม่ยอมสยบต่อสิ่งใดทั้งสิ้น เราไม่มีวันพูดว่าเรากำลังจะแตกกระจายเป็นเสี่ยงๆ
เราไม่อาจพูดได้ว่าคนอื่นจะต้องเป็นเช่นนั้นและโลกด้วยเช่นกัน
ชั่วชีวิตของเราอาจมีปัญหาอันหนักหน่วงมากมายในโลก
แต่ขอให้เรามั่นใจว่า ชั่วชีวิตนี้จะไม่มีความหายนะใดๆอุบัติขึ้น
เราอาจป้องกันได้ ทุกสิ่งทุกอย่างขึ้นอยู่กับเรา อย่างน้อยที่สุดเราอาจช่วยโลกให้รอดจากหายนะ
ญาณทัสนะซัมบาลามีอยู่เพื่อสิ่งนี้ เป็นอุดมคติเก่าแก่ที่มีมานานนับศตวรรษ
นั่นคือการรับใช้โลกนี้ เราอาจช่วยให้มันรอดแต่การช่วยให้รอดก็ยังไม่เพียงพอ
เรายังต้องกระทำการเพื่อสร้างสังคมมนุษย์ที่เป็นอริยะขึ้นมาด้วย”
หนังสือนี้กล่าวถึงรากฐานแห่งสังคมอริยะและหนทางนำไปสู่ ในวิถีนักรบของซัมบาลา ไม่มุ่งเน้นการขบคิดปัญหาทางทฤษฎีหรือการคาดเดาต่างๆ แต่มีเนื้อหาที่เกื้อกูลให้เกิดการค้นพบความหมายและบรรลุถึงความเป็นอริยของตนและสังคมด้วยผู้อ่านเอง
”ถ้าเราปรารถนาจะช่วยโลกให้รอด เราจะต้องก้าวเดินไปด้วยตัวเอง”
No comments:
Post a Comment